top of page

เจ้าของโรงงาน ติด Solar Cell อย่างไรให้คุ้ม

Updated: Jul 31, 2021

4 เรื่องควรประเมินก่อนติดตั้ง Solar Cell ให้กับโรงงานของคุณ


ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสเข้าประเมินพื้นที่เพื่อติดตั้งโซลาร์เซลล์ของโรงงานหลายแห่ง ทั้งที่ติดตั้งโซลาร์เซลล์อยู่ก่อนแล้ว และจะติดเพิ่ม และที่ยังไม่ได้ติด ผมพบว่าหลายครั้งเจ้าของโรงงานตัดสินใจติดตั้งโซลาร์เซลล์โดยหวังว่าจะลดค่าไฟได้ โดยไม่ได้ประเมินสถานการณ์การจ่ายค่าไฟของตัวเองให้ถ่องแท้ก่อน และเมื่อตัดสินใจติดตั้งแล้วก็ไม่แน่ใจว่าค่าไฟลดลงไปแค่ไหนหรือไม่ลด เพราะอะไรก็ยังไม่แน่ใจ


ผมเลยได้สรุปประเด็นที่ควรประเมินและทำความเข้าก่อนก่อนตัดสินใจติดตั้งเอาไว้ 4 เรื่อง ดังนี้ครับ


(1) สำรวจบิลค่าไฟของคุณ

เพื่อให้เข้าใจสถานการณ์การใช้ไฟฟ้าและค่าใช้จ่ายของโรงงานของคุณ บิลค่าไฟเป็นเรื่องเล็กน้อยที่หลายคนอาจมองข้าม หลายคนอาจมองแค่ค่าไฟเราเดือนละกี่บาท การติดระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์อาจช่วยลดค่าไฟให้ได้ครึ่งนึง ซึ่งเราจะบอกว่าโซล่าเซลล์เป็นเพียงเครื่องมือตัวหนึ่งที่ช่วยลดค่าไฟเท่านั้น เมื่อเรามีเครื่องมือที่ดีแล้วเราต้องรู้ว่าต้องใช้เครื่องมืออย่างไรให้คุ้มค่า


เอาล่ะ มาดูบิลค่าไฟของคุณกัน


สิ่งแรกที่คุณต้องรู้คือมิเตอร์ของคุณจดอยู่ในประเภทไหน ดูได้ที่ด้านล่างนี้เลยครับ



จากทั้ง 3 รูปจะเห็นว่าเราสามารถดูประเภทการจดมิเตอร์ของโรงงานเราจากในบิลค่าไฟดังที่วงกลมสีแดงไว้ ซึ่งจะเห็นว่าจากทั้ง 3 รูป จะมีทั้งประเภทที่ขึ้นด้วบเลข 3 และ 4 โดยที่การไฟฟ้าได้แบ่งอัตราค่าไฟไว้ 8 ประเภท ดังนี้


โดยที่ให้กลุ่มโรงงาน โดยมากจะอยู่ที่ประเภทที่ 3 หรือ 4 นอกจากนี้ในบิลค่าไฟ ด้านล่างของประเภท ก็จะเห็นว่าบางบิลมี on peak – off peak นั่นหมายความว่าค่าไฟของโรงงานนั้นๆ เป็นมิเตอร์แบบ TOU และบางบิลไม่มี จะหมายความว่าเป็นมิเตอร์แบบปกติ ซี่งจะมีค่าไฟต่อหน่วยที่แตกต่างกันดังนี้


เรามาดูอัตราค่าไฟ ในประเภท 3 และประเภท 4 ทั้งแบบปกติ และแบบ TOU กันเลย


สำหรับประเภทที่ 3 กิจการขนาดกลาง จะแบ่งเป็นมิเตอร์ปกติ และ TOU ซึ่งจะเห็นว่าค่าพลังงานไฟฟ้าแบบอัตราปกติจะอยู่ที่หน่วยละ 3 บาทนิดๆ ในขณะที่ TOU จะแบ่งเป็น on peak กับ off peak ซึ่ง on peak (จ-ศ 9.00 -22.00) จะแพงกว่าค่อนข้างมาก และแอบใบ้ให้ว่าโซล่าเซลล์ซึ่งผลิตไฟในช่วงกลางวันนี้เองจะมีส่วนมาช่วยลดค่าไฟในช่วงเวลานี้ ส่วนค่าไฟช่วง off peak (จ-ศ 22.00-9.00 หรือ ส-อา และวันหยุดราชการ) สำหรับ TOU จะเห็นว่าอยู่ที่หน่วยละ 2 บาทกว่าๆ เท่านั้นเอง

สำหรับประเภทที่ 4 จะแบบออกเป็นมิเตอร์แบบ TOD และ TOU ซึ่งแบบ TOD นี้จะมีการเพิ่มช่วงเวลา Partial Peak สำหรับค่าความต้องการพลังงานไฟฟ้า (Demand Charge) จะเห็นว่ามีอัตราค่าไฟแตกต่างกันตามตารางด้านบน

ดังนั้นจะเห็นว่าหากใครที่ใช้มิเตอร์แบบ TOU ควบคู่ไปกับการใช้โซล่าเซลล์ และวางแผนการสายการผลิตในแต่ละช่วงเวลาให้ดี ก็จะมีส่วนช่วยอย่างมากต่อการลดค่าไฟอย่างมีนัยสำคัญ


อีกปัจจัยที่สำคัญของบิลค่าไฟคือ ค่าความต้องการพลังงานไฟฟ้า (Demand Charge) ซึ่งก็คือ ความต้องการพลังไฟฟ้าเป็นกิโลวัตต์ เฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุดในรอบเดือน หรืออีกนัยยะหนึ่งคือยิ่งมีความต้องการใช้ไฟฟ้าไม่สม่ำเสมอหรือเหวี่ยงมากเท่าไหร่ เรายิ่งเสียค่าใช้จ่ายส่วนนี้มากเท่านั้น ดังนั้นการวางแผนการผลิตที่ดีและสม่ำเสมอประกอบกับการมี Self-Consumption Energy จากโซล่าเซลล์ก็จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้มากขึ้น


(2) ประเมินหลังคาและขนาดพื้นที่ติดตั้ง


อีกคำถามที่พบบ่อยจากเจ้าของโรงงานคือ ใช้ติดโซล่าเซลล์ใช้พื้นที่เยอะไหม? หลังคาโรงงานผมพื้นที่จะพอไหม? อันที่จริงจะบอกว่าการติดโซล่าเซลล์ไม่ได้ใช้พื้นที่มากอย่างที่คิด ที่คุณเห็นว่าใช้พื้นที่เยอะๆ อย่างโซลาร์ฟาร์มนั่นเขาใช้ผลิตไฟหลายสิบถึงหลายร้อยเมกกะวัตต์ (MW) ในขณะที่โรงานขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ใช้โซล่าเซลล์ที่ผลิตไฟได้ 150 กิโลวัตต์ (kW) ถึง 1 เมกกะวัตต์ (MW) ก็เพียงพอต่อการใช้งาน โดยพื้นที่สำหรับ 150 kW ก็จะใช้พื้นที่หลังคาเพียง 700 ตรม. (35m x 20m หรือ 70m x 10m) หรือย่างมาก 1MW (ซึ่งส่วนใหญ่โรงงานเหล่านี้จะค่าไฟเดือนละหนึ่งล้านบาทขึ้นไป) จะใช้พื้นที่ราวๆ 4,500 ตรม. (100m x 45 m หรือ 90m x 50 m)


ส่วนคำถามที่ผู้ติดตั้งอย่างเรามักจะถามจากเจ้าของอาคารคือหลังคาของอาคารเป็นแบบไหน กระเบื้องลอนคู่ ซีเมนต์แฟลตรูฟ ชิงเกิลรูฟ หรือเมทัลชีท และอายุติดตั้งมานานเท่าไร มีจุดรั่วซึมมากน้อยแค่ไหน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ก็เป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งต่อการติดตั้งระบบ Solar PV ให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มราคาค่าติดตั้ง


หลังคาผมจะรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของโซล่าเซลล์ได้ไหม?

เทคโนโลยีปัจจุบันทำให้แผ่นโซล่าเซลล์มีนำหนักไม่สูงมาก อยู่ที่ราวๆ 28-30 กิโลกรัม ในขนาด 2 x 1 เมตร ดังนั้นน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นรวมน้ำหนักของอุปกรณ์ติดตั้งอย่าง Mounting ก็จะมีน้ำหนักไม่เกิน 20 กิโลกรัมต่อตารางเมตรเท่านั้น


(3) ประเมินการลดค่าไฟ ลดค่าไฟได้เท่าไหร่? ลดได้กี่เปอร์เซ็นต์?


คำถามยอดนิยมที่ไม่พูดถึงก็คงไม่ได้ แต่ตอบทันทีเลยไม่ได้เพราะขึ้นกับปัจจัยอีกหลายอย่าง ยกตัวอย่างเคสของโรงงานแห่งหนึ่งมีค่าไฟประมาณสามแสนกว่าบาท ใช้ไฟราวๆ 52,000 – 85,000 หน่วยต่อเดือน ทดลองติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ขนาด 100 kW เพื่อดูว่าจะลดค่าไฟได้จริงไหมและควรติดเพิ่มหรือไม่ ปรากฏว่าหลังติดตั้งค่าไฟก็ยังอยู่ที่ราวๆ สามแสนกว่าบาทเช่นเดิม โดยที่ใช้ไฟอยู่ที่ 59,000-72,000 หน่วย


ดูเผินๆเหมือนไม่ได้ช่วยลดค่าไฟ แต่ปัญหาขึ้นกับอีกหลายส่วน


ส่วนแรกคือโรงงานนี้มีค่าความต้องการพลังงานไฟฟ้า (Demand Charge) สูงมากอยู่ที่ 8 หมื่นกว่าบาท ซึ่งค่านี้ไม่ได้ลดเลย สาเหตุจากการติดโซล่าเซลล์ไม่พอขนาดที่จะถึงจุด optimum เพื่อลดค่า demand charge ได้จริง และยังต้องปรับพฤติกรรมการใช้ไฟไม่ให้เหวี่ยงมากเกินไปในแต่ลช่วงแวลา


ส่วนที่สอง เรามาดูกันว่าแผงโซลาร์ขนาด 100 kW จะผลิตไฟในโรงงานนี้ได้กี่หน่วย ซึ่งจากสูตรคือ


100kW x 4 ชั่วโมงแดด x 30 วัน x 6/7 (โรงงานนี้ทำงาน 6 วันต่ออาทิตย์)

= 10,285 หน่วยต่อเดือน

หมายความว่าจะค่าไฟเดือนละ 52,000 – 85,000 หน่วยต่อเดือน ถ้าลดลงมาเดือนละหมื่นหน่วยและแทบจะไม่เห็นหน่วยไฟที่ลดลงก็คงไม่แปลก และมิเตอร์ไฟของโรงงานนี้เป็นแบบปกติดังนั้นจะเสียค่าไฟที่ 3.1471 บาทต่อยูนิต ดังนั้นค่าไฟที่ประหยัดได้ต่อเดือนคือ 32,268 บาทเท่านั้น เพราะค่า demand charge ไม่ได้ลดตามไปด้วย


ผมจึงได้เสนอแนะแนวทางให้ปรับมิเตอร์เป็น TOU และติดแผงโซล่าเซลล์เพิ่มเป็น 400 kW จะเหมาะสมกับขนาดและการใช้ไฟ ปรับชั่วโมงการทำงานให้ใช้ไฟเพิ่มขึ้นในช่วงกลางวัน และลดการผลิตหลัง 5 โมงเย็นที่โซล่าเซลล์ผลิตไฟไม่ได้ ด้วยกระบวนการนี้โรงงานจึงจะลดค่าไฟได้จากเดือนละ 3 แสนกว่าบาท เป็น 135,000 บาท


จะเห็นว่าในกระบวนการลดค่าไฟมีรายละเอียดในหลายมิติที่ไม่ใช่เพียงแค่การติดโซล่าเซลล์ อย่างที่บอกว่าระบบฯ เป็นเพียงเครื่องมือชนิดหนึ่งในการลดค่าไฟเท่านั้น แต่เราต้องเข้าใจวิธีการใช้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดค่าไฟ อย่างไรก็ตามหากจะให้ตอบสั้นๆ ว่าโรงงานติดโซล่าเซลล์ลดค่าไฟได้เท่าไรนั้น สรุปสั้นๆ ว่าหากติด 100 kW จะผลิตไฟให้ได้ราว 10,000 – 12,000 หน่วย และจะประหยัดไฟเพิ่มขึ้นได้ราวๆ 42,000 – 50,000 บาท ต่อ 100 kW ที่ติดตั้งเพิ่มขึ้น


(4) ประเมินระยะเวลาคืนทุน ติดตั้งแล้วคุ้มจริงไหม? กี่ปีถึงจะคืนทุน?


คำถามเหล่านี้เป็นคำถามสุดคลาสสิค ซึ่งความคุ้มหรือไม่คุ้มเกิดจากปัจจัยหลายๆ อย่าง เช่น หากผู้ติดตั้งๆ ไม่ได้คุณภาพหรือไม่ได้ช่วยคุณคำนวณเรื่องการใช้ไฟจากประเภทมิเตอร์ที่คุณมีอยู่ อาจไม่ได้ช่วยให้คุณลดค่าไฟเท่าไรนัก ทั้งที่ตอนขายอาจบอก 4 ปี คืนทุน แต่ถึงเวลาอาจใช้เวลา 8-10 ปีในการคืนทุนก็เป็นไปได้ แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยอายุการใช้งานของแผงที่ 25 ปี ยังไงก็จะสามารถคืนทุนได้เร็วกว่าอายุการใช้งานของแผงแน่นอน เพียงแต่หากจะให้คืนทุนได้อย่างดีจะต้องประกอบด้วยการติดตั้งจากผู้เชี่ยวชาญที่มีคุณภาพ และวางแผนการใช้งานและปรับพฤติกรรมการใช้ไฟ หรืออาจปรับประเภทมิเตอร์เพื่อให้ประสิทธิภาพของการผลิตไฟตลอดจนการคืนทุนของคุณเป็นไปได้อย่างดี



ความเร็วช้าในการคืนทุนก็ขึ้นกับพฤติกรรมการใช้ไฟเป็นสำคัญ ยิ่งเราใช้ไฟในช่วงกลางวันมากเท่าไร ยิ่งทำให้การดึงไฟไปใช้งานจากระบบ Solar PV สูงขึ้น ความคุ้มค่าจากการติดตั้งยิ่งมากขึ้น ยกตัวอย่าง หลายคนที่ติดตั้งโซล่าเซลล์ที่บ้านก็อาจรู้สึกว่าไม่เห็นคุ้ม ไม่เห็นประหยัดไฟได้เหมือนที่คุยไว้เลย ทั้งนี้พฤติกรรมของคุณอาจจะออกไปทำงานในช่วงกลางวัน ในช่วงที่โซล่าเซลล์ทำงานได้ดีกลับไม่มีใครใช้ไฟ แต่กลับมาบ้านและใช้ไฟอย่างหนักในช่วงเย็นก็อาจเห็นว่าค่าไฟไม่ลดมาก ลักษณะนี้ก็อาจแนะนำให้ติดขนาดที่เล็กลงให้เหมาะกับไฟที่ใช่แค่ในช่วงกลางวันเท่านั้น ในทางตรงข้ามหากบ้านคุณเป็นโฮมออฟฟิศ หรือมีการใช้ไฟกลางวันมากๆ แบบนี้ถึงติดโซล่าเซลล์แล้วจึงคุ้มค่า จะเห็นว่าพฤติกรรมก็เป็นส่วนสำคัญมากในการพิจารณาว่าติดตั้งแล้วคุ้มค่าหรือไม่


สรุปสั้นคือ ประมาณการระยะเวลาในการคืนทุนมีตั้งแต่ 3 ปีถึง 10 ปี ขึ้นกับคุณภาพแผง คุณภาพการติดตั้ง การวางแผนผลิตและใช้ไฟ ประเภทของมิเตอร์ จ่ายสดหรือผ่อนชำระ ฯลฯ ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้มีผลต่อระยะเวลาคืนทุนทั้งสิ้น


ผู้ที่สนใจจำนวนมากลังเลในเรื่องนี้ และถึงแม้อาจเห็นแล้วว่าคุ้มค่าในการติดตั้ง แต่ยังติดปัญหาในเรื่องเงินลงทุนเบื้องต้นค่อนข้างสูงจึงเป็นอุปสรรคต่อการตัดสินใจติดตั้ง Solar Matter เห็นความสำคัญในเรื่องนี้ และถือเป็นพันธกิจสำคัญในการทำให้ครอบครัวไทยและธุรกิจไทยเข้าถึงระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็วที่สุด จึงมีบริการด้วยไฟแนนซ์ด้วยระบบผ่อนชำระให้กับครัวเรือนสูงสุด 6 ปีหรือ 72 งวด เพื่อให้ค่าผ่อนต่อเดือนของคุณใกล้เคียงกับค่าไฟที่ลดลงได้มากที่สุด และไม่มีภาระมากขึ้นจนเกินไป และสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม Solar Matter ยังมีบริการติดตั้งระบบ Solar PV ให้ฟรี และจบสัญญาโดยเร็วที่สุดภายในระยะเวลา 6 ปี เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยเติบโตและเข้าถึงพลังงานสะอาดให้ได้มากที่สุด และคลายความกังวลผู้ประกอบการในด้านการคืนทุนด้วยบริการติดตั้งด้วยทีมงานมืออาชีพ และระบบไฟแนนซ์ที่เป็นธรรมและคิดถึงผู้ประกอบการมากที่สุด


สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ให้ทีมเข้าประเมินพื้นที่เพื่อนำเสนอ

โทร. 099-3966542 (ศิลป์ธรณ์)

Line id: solarmatter

FB: www.facebook.com/solarmatter





Commentaires


bottom of page