15 สิ่งควรรู้ก่อนติดตั้งโซลาร์เซลล์
Updated: Jun 15, 2021
เทรนด์การติดตั้งโซลาร์เซลล์กำลังเติบโตขึ้นอย่างมากในประเทศไทย ไม่ว่าจะบนหลังคาบ้าน สำนักงาน โรงงาน คลังสินค้า โรงเรียน โรงแรม ห้างสรรพสินค้า หรือแม้กระทั่งการใช้งานวัด ...ทำไมโซลาร์เซลล์จึงเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา? แน่นอนว่าเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ได้พัฒนามาถึงจุดที่ทำให้ต้นทุนของแผงเริ่มลดลงจนคนทั่วไปเข้าถึงได้ง่ายขึ้น และการติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตไฟใช้เองก็ช่วยทำให้ค่าไฟของคุณลดลงได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอาคารที่ใช้ไฟช่วงกลางวันสูง และการติดตั้งโซลาร์เซลล์ก็เป็นอะไรที่ดูมีเสน่ห์และเป็นมิตรต่อส่งแวดล้อม
อย่างไรก็ตามมีหลายสิ่งที่คุณต้องพิจารณาก่อนที่จะติดตั้งโซลาร์เซลล์... ดังนั้น เพื่อช่วยให้คุณตัดสินใจได้ว่าพลังงานแสงอาทิตย์เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมสำหรับคุณที่บ้านหรือธุรกิจของคุณหรือไม่เราได้รวบรวมรายการ 15 อันดับแรกที่คุณต้องคำนึงถึงก่อนที่จะติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาของคุณ
1. หลังคาของคุณชำรุดหรือต้องการการซ่อมแซมหรือไม่?
ก่อนที่คุณจะพิจารณาติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ให้ถามตัวเองว่าหลังคาของคุณติดตั้งมากี่ปีแล้ว รั่ว ร้าว ชำรุดตรงไหนหรือไม่ หากคุณรู้ว่าจะต้องซ่อมหรือเปลี่ยนหลังคาใหม่ในเร็วๆ นี้ ตอนนี้อาจไม่ใช่ความคิดที่ดีที่สุดในการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ คุณควรดูแลและซ่อมแซมหลังคาให้เรียบร้อยก่อนการติดตั้งโซลาร์เซลล์ จะไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มเพื่อรื้องานแล้วติดตั้งกันใหม่
อีกประการหนึ่งที่ต้องพิจารณาคืออายุหลังคาของคุณเมื่อเทียบกับการรับประกันบนแผงโซลาร์เซลล์ ยกตัวย่างเช่น แผงโซลาร์เซลล์ของโซลาร์แมทเตอร์มีอายุการใช้งานนานถึง 25 ปี และถ้าหลังคาเก่าและเหลืออายุการใช้งานไม่นาน ก็อาจจะเพิ่มค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา พยายามเลือกใช้งานทีมช่างที่มีความเข้าใจทั้งการดูแลรักษาระบบโซลาร์เซลล์และงานหลังคาควบคู่กัน
2. หลังคาของคุณเป็นแบบไหน?
หลังคามีหลายรูปทรงและขนาด ไม่ว่าจะเป็นสังกะสี เมทัลชีท กระเบื้องแบน กระเบื้องลอนคู่ หรือแฟลตรูฟคอนกรีต ฯลฯ ก่อนที่คุณจะดำเนินการติดตั้งใด ๆ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าหลังคาของคุณมีพื้นที่เพียงพอสำหรับแผงโซลาร์เซลล์ หากมีที่ว่างไม่เพียงพอคุณอาจไม่ได้รับผลตอบแทนจากการผลิตไฟของโซลาร์เซลล์ตามที่คุณคาดหวังจากการลงทุน
3. แนวลาดของหลังคาของคุณหันหน้าไปทางทิศไหน?
แผงโซลาร์เซลล์ต้องการตำแหน่งที่เฉพาะเจาะจงเพื่อสร้างปริมาณไฟให้ได้สูงที่สุด ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่กล่าวว่าตำแหน่งที่ดีที่สุดคือให้แผงหันไปทางทิศใต้ เอียงลาด 10-18 องศา ซึ่งปัจจัยข้อนี้สำคัญมากสำหรับคุณในการพิจารณาก่อนการติดตั้ง
4. บ้านของคุณควรติดตั้งแผงโซลาร์กี่ kW?
คุณควรพิจารณาปัจจัยนี้ตั้งแต่ก่อนการติดตั้ง ซึ่งมันขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ขนาดพื้นที่ๆ สามารถติดตั้งได้ ทิศทางของหลังคา ปริมาณไฟที่ต้องการผลิต ซึ่งผู้ให้บริการส่วนมากจะเริ่มต้นที่ถามคุณง่ายๆ ว่าใช้ไฟเดือนละกี่บาท และจะประมาณการว่าติดตั้งแล้วจะประหยัดไฟครึ่งหนึ่ง ดังนั้นควรติดขนาดแผงเท่านั้นเท่านี้กิโลวัตต์ สำหรับ Solar Matter เราจะให้บริการติดตั้งเครื่อง REMS (Remote Energy Monitoring System) เพื่อวัดการใช้งานไฟจริงของคุณเป็นรายวินาที ตั้งแต่ก่อนการติดตั้ง เพื่อให้คุณเห็นด้วยตาคุณเองว่าคุณควรติดแผงโซลาร์ขนาดกี่ kW จึงเหมาะสมกับการใช้งานของอาคารคุณมากที่สุด
5. หลังคาของคุณรับน้ำหนักได้เท่าไร?
การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์จะเพิ่มน้ำหนักให้กับโครงสร้างหลังคาของคุณ หากน้ำหนักของแผงโซลาร์เซลล์เหล่านี้มากเกินกว่าที่หลังคาของคุณจะรับได้ ถึงแม้แผลโซลาร์เซลล์ในยุคปัจจุบันจะมีน้ำหนักเบาเพียงไม่เกิน 20 กก .ต่อตารางเมตร แต่หากไม่ออกแบบและคำนวณให้ดีก็มีโอกาสเสี่ยงที่แผงโซลาร์จะถล่มลงมา สิ่งนี้อันตรายมากจากหลายสาเหตุ เพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์ทั้งสองเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินหลังคาของคุณเพื่อพิจารณาว่าจำเป็นต้องมีซัพพอร์ทเพิ่มเติมสำหรับการติดตั้งหรือไม่
6. ทิศทางน้ำไหล
เมื่อฝนตกน้ำไหลลงหลังคาเข้าสู่รางน้ำและออกไปจากบ้านของคุณ เมื่อติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์อุปกรณ์เช่น PV mounting และไลน์สายไฟที่เดินไว้อาจบล็อคไม่ให้น้ำไหลและระบายออกได้อย่างเหมาะสม ในบางกรณี อุปกรณ์พลังงานแสงอาทิตย์สามารถผันน้ำไปในทิศทางอื่น ซึ่งอาจทำให้เกิดการรั่วซึมและปัญหาอื่นๆ ในบางกรณี เมื่อปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้น การแก้ไขอาจหมายถึงต้องถอดแผงโซลาร์เซลล์ออก
7. ภัยจากธรรมชาติอื่นๆ
ส่วนหนึ่งของการบำรุงรักษาระบบพลังงานแสงอาทิตย์ของคุณคือการรับมือกับสภาพอากาศที่รุนแรง เช่น พายุ ฟ้าผ่า ลูกเห็บ กิ่งไม้ที่หักโค่น ฯลฯ มีความเป็นไปได้ที่อุปกรณ์พลังงานแสงอาทิตย์บางชิ้นจะได้รับความเสียหายในระหว่างเหตุการณ์เหล่านี้ แม้ว่าการประกันภัยบางประเภทจะครอบคลุมเหตุการณ์ประเภทนี้ แต่ก็เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีสภาพอากาศแบบนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง
เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านี้ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณได้แจ้งให้ผู้ให้บริการโซลาร์เซลล์ของคุณทราบถึงข้อกังวลเหล่านี้ พวกเขาจะได้สามารถนำเสนอแผนงานการติดตั้งที่เหมาะสมให้กับคุณได้
8. ระบบของคุณจะเชื่อมต่อกับกริดได้อย่างไร?
นอกจากโครงสร้างและลักษณะของหลังคาแล้ว คุณต้องพิจารณาด้วยว่าคุณจะเชื่อมต่อระบบพลังงานแสงอาทิตย์กับกริดอย่างไร เมื่อเชื่อมต่อกับการไฟฟ้าจากกฟผ.หรือกฟน. มีหลายสิ่งที่คุณต้องพิจารณา ตัวอย่างเช่น :
จะติดนานแค่ไหน? ต้องการขายไฟคืนหรือไม่?
ต้องเสียค่าธรรมเนียมอะไรไหม?
ลักษณะการขายไฟคืนจากการผลิตไฟฟ้าเป็นอย่างไร?
เรื่องเหล่านี้สามารถปรึกษาได้กับผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ให้บริการติดตั้งแผงโซลาร์ของคุณ
9. คุณได้พิจารณาเปรียบเทียบผู้ให้บริการอย่างถี่ถ้วนแล้วหรือไม่?
ก่อนลงนามข้อตกลงใด ๆ กับผู้ให้บริการ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณได้คัดสรรอย่างดีแล้ว การเลือกผู้รับเหมารายแรกที่คุณเจออาจดูเหมือนเป็นวิธีที่ง่ายและรวดเร็วในการเริ่มประหยัดเงินเร็วกว่า เพราะอาจคิดว่ายิ่งติดตั้งเร็วยิ่งประหยัดค่าไฟเน็ว อย่างไรก็ตาม การติดตั้งแผงโซลาร์หมายถึงคุณต้องอยู่กับโซลาร์เซลล์และผู้ให้บริการรายนั้นไปอีก 20-30 ปี ดังนั้น คุณควรเลือกซื้อและเปรียบเทียบผู้ให้บรการรายต่างๆ หาข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทเหล่านี้เพื่อให้แน่ใจว่าน่าเชื่อถือ มีความเข้าใจ และลูกค้าที่ผ่านมาพึงพอใจ
10. ผู้ให้บริการของคุณน่าเชื่อถือหรือไม่?
การติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์เป็นทั้งการปรับปรุงบ้านและระบบไฟฟ้า นี่คือเหตุผลที่เมื่อคุณเริ่มค้นหาผู้รับเหมาที่เหมาะสม การเลือกผู้รับเหมาที่คุณรู้สึกว่าจะอยู่ร่วมกันได้ในระยะยาวก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาเช่นกัน หากต้องมีการบำรุงรักษา ทีมงานที่สามารถให้บริการหลังการขายได้อย่างทันท่วงทีเพื่อให้การผลิตไฟของคุณไม่สะดุดและปลอดภัยต่อบ้านของคุณ นั่นเป็นสาเหตุที่ โซลาร์ แมทเตอร์ ร่วมมือกับ AirMate ซึ่งประกอบด้วยทีมช่างผู้เชี่ยวชาญกว่า 400 ท่านทั่วประเทศไทย จึงเป็นผู้ให้บริการงานติดตั้งและงานบริการหลังการขายอันดับหนึ่งที่โครงการชั้นนำ AP แสนสิริ และ SC Asset เลือกใช้
11. คุณเลือกตัวเลือกที่ถูกที่สุดหรือไม่?
แผงโซลาร์เซลล์ที่ถูกกว่าโดยส่วนใหญ่มักไม่ค่อยเป็นแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ดีนัก ในขณะที่เทคโนโลยีลดราคาลงอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาการลงทุนในแผงโซลาร์เซลล์รุ่นหรือยี่ห้อที่ถูกที่สุดอาจทำให้คุณมีปัญหา แผงโซลาร์เซลล์ราคาถูกหรือต่ำมักผลิตด้วยวิธีที่ทำให้มีความคงทนและอายุการใช้งานน้อยลง เมื่อแผงโซลาร์เซลล์มีความทนทานน้อยลงจะทำให้มูลค่าการลงทุนของคุณลดลง ส่วนที่น่ากลัวคือแผงคุณภาพต่ำเหล่านี้บางครั้งอาจเป็นอันตรายส่งผลให้ไฟฟ้าลัดวงจร สิ่งสุดท้ายที่คุณต้องการคือไฟไหม้บ้านของคุณเนื่องจากแผงโซลาร์เซลล์คุณภาพต่ำ
ในฐานะผู้บริโภค การลงทุนเวลาและเงินในการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่เหมาะสมจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ในระยะยาวแผงที่มีคุณภาพสูงจะมีอายุการใช้งานนานขึ้นและให้ผลตอบแทนที่สูงและคุ้มกว่ามาก
12. การรับประกัน
การรับประกันเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์และอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หากเกิดอะไรขึ้นกับแผงโซลาร์เซลล์ของคุณ การรับประกันจะช่วยให้คุณสามารถเรียกร้องความรับผิดชอบต่อผู้ผลิตและผู้ติดตั้งได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมใด ๆ กับคุณ หากไม่มีการรับประกันอย่าเซ็นสัญญาติดตั้ง
ประเภทของการรับประกัน
การรับประกันแผงโซลาร์เซลล์
การรับประกันประเภทนี้ควรครอบคลุมแผงโซลาร์เซลล์ของคุณเป็นเวลา 25 - 30 ปี หากการรับประกันที่เสนอให้คุณเป็นเวลาน้อยกว่า 25 ปีโปรดเข้าใจว่าการรับประกันนี้ถือว่าต่ำกว่ามาตรฐานอุตสาหกรรม การรับประกันนี้ครอบคลุมกำลังไฟฟ้าขั้นต่ำที่รับประกันตลอดระยะเวลาการรับประกันของแผงควบคุม มาตรฐานอุตสาหกรรมระบุว่าคุณควรได้รับพลังงานไม่น้อยกว่า 80% ตามระยะเวลาที่แผงควบคุมอยู่ภายใต้การรับประกัน
การรับประกันการติดตั้ง
การรับประกันนี้ครอบคลุมถึงสถานการณ์ที่แผงโซลาร์เซลล์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องได้รับการติดตั้งอย่างไม่ถูกต้อง การรับประกันประเภทนี้มีตั้งแต่ 2 - 10 ปี ครอบคลุมถึงเรื่องต่างๆ เช่น งานติดตั้งแผงและชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้อง งานเจาะหลังคา การขนส่ง การเปลี่ยนชิ้นส่วนที่มีไม่ได้คุณภาพ ฯลฯสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดสอบถามผู้ให้บริการของคุณว่าพวกเขาให้การรับประกันการติดตั้งแบบใด
การรับประกันอินเวอร์เตอร์
การรับประกันประเภทนี้ขึ้นกับบริษัทผ๔รับประกันของแบรนด์นั้นๆ มีการรับประกันที่สามารถใช้งานได้ระหว่าง 10-25 ปี การรับประกันอินเวอร์เตอร์โดยทั่วไปครอบคลุมถึงความชำรุดเสียหายของวัสดุหรือการผลิต โดยทั่วไปการรับประกันอินเวอร์เตอร์จะไม่ครอบคลุมความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้งที่ไม่เหมาะสม หรือการสึกหรอตามปกติที่เกิดจากสภาวะที่รุนแรงและการบำรุงรักษาที่ไม่เหมาะสม
13. มีการทำประกันถูกต้องหรือไม่?
การมีประกันที่เหมาะสมเพื่อให้ครอบคลุมทั้งตัวคุณเองและความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบ้านของคุณในระหว่างการติดตั้งเป็นสิ่งที่คุณต้องพิจารณาอย่างยิ่ง ปัญหามากมายอาจเกิดขึ้นในระหว่างการติดตั้งไปจนถึงภายหลังการติดตั้งที่คุณอาจไม่ได้คิดจนกว่ามันจะเกิดขึ้น
14. DIY ได้จริงหรือ?
การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ มีหลายสิ่งที่อาจผิดพลาดได้หากคุณไม่ได้รับการฝึกอบรมอย่างเหมาะสมในขั้นตอนการติดตั้ง ตัวอย่างเช่น
ปัญหาการเดินสายไฟ:
เป็นงานที่คุณต้องทำงานกับระบบไฟฟ้า หากติดตั้งไม่ถูกต้อง อาจเกิดไฟฟ้าลัดวงจรที่เป็นอันตรายต่อทั้งคุณและคนรอบตัวคุณได้ ดังนั้น ควรปรึกษาช่างไฟฟ้าทุกครั้งสำหรับงานไฟฟ้าใดๆ
หลังคารั่ว:
การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ทำให้คุณต้องเจาะหลังคาบางจุดเพื่อติดตั้ง หากรูเหล่านี้ไม่ได้รับการเจาะและซีลอย่างถูกต้องหลังคาของคุณจะเสียหายและเกิดการรั่วซึม
การรับประกันแผงโซลาร์เซลล์จำนวนมากจำเป็นต้องมีการติดตั้งโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีใบอนุญาต เพราะนี่เป็นเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยและการปฏิบัติตามจรรยาบรรณ:ผ
15. การบำรุงรักษา
การดูแลรักษาแผงโซลาร์เซลล์ของคุณให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและหลังคาของคุณอยู่ในสภาพดีนั้นเป็นเรื่องของการกำหนดขั้นตอนการบำรุงรักษาที่เหมาะสม เป็นความคิดที่ดีที่จะหาคำตอบจากผู้รับเหมาของคุณว่าขั้นตอนการบำรุงรักษาเหล่านั้นเป็นอย่างไรก่อนที่จะเริ่มการติดตั้ง หากคุณไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดในการบำรุงรักษาเหล่านั้น อาจเกิดความเสียงที่อุปกรณ์ของคุณจะใช้งานได้ไม่นานและไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่คุณต้องการ
Translated by Sintorn Santitorn
Source: https://www.electricchoice.com/
Comments